ในเดือนสิงหาคมนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งเดือนที่สำคัญของชาวศาสนิกชนชาวพุทธนั่นคือ วันอาสาฬบูชา ตรงกับ วันอังคารที่ 1 สิงหาคม และ วันเข้าพรรษา ตรงกับ วันพุธที่ 2 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม พีพีทีวี เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนหลายคนคงได้วางแผนสำหรับการทำอาหารเพื่อทำบุญในวันพระใหญ่อย่างนี้ และหนึ่งในสิ่งที่เป็นคำถามค้างคาใจคงไม่พ้นเรื่องที่ว่าเพราะอะไรถึงห้ามทานข้าวก่อนพระฉันเพล พีพีทีวีมีคำตอบ!
-
ตำนานถวายข้าวพระ
ตามตำนาน การถวายภัตราหาร เริ่มมาจาก เศรษฐีผู้เป็นบิดาของยสะ มาตามลูกชายและได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม โปรดเศรษฐี จนเศรษฐีได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนยสะฟังธรรมอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้บรรลุอรหันต์ผล เศรษฐีได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระยสะ ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน พระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์ไปฉันภัตตาหาร ที่บ้านเป็นครั้งแรก
-
ถวายภัตตาหารปัจจุบัน
จนในปัจจุบัน การถวายข้าวพระ เลียนแบบมาแต่สมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นชาวพุทธนิยมเลี้ยงพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วจึงยังมีประเพณีสร้างพระพุทธรูป จากนั้นเมื่อมีกิจกรรมที่ต้องทำบุญเลี้ยงพระ จึงจัดที่ตั้งพระพุทธรูปเพิ่มด้วย เพื่อแสดงว่ายังมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และนิยมจัดอาหารถวายพระพุทธรูปด้วย และ การถวายภัตตาหาร หมายถึง การนำอาหารมาถวายพระสงฆ์ เพื่อให้ท่านได้ฉันมี 2 เวลา คือ ภัตตาหารเช้า ภัตตาหารเพล
-
ทานข้าวก่อนพระฉันบาปไหม?
ในข้อ ธรรมคำสอน ของพระไพศาล วิสาโล มีการอธิบายไว้ว่า ข้อห้ามที่ว่าอย่ากินก่อนพระนั้น แท้จริงเพื่อแสดงความยกย่องการที่ชาวบ้านในอดีตมีความเชื่อว่า พระสงฆ์ฉันข้าวก่อนค่อยทานข้าว นั่นคือการให้ความสำคัญแก่พระสงฆ์ แต่หากจำเป็นต้องกินก่อนพระ ก็ไม่เป็นเรื่องเสียหาย เพราะในปัจจุบัน อาจมีกิจจำเป็น เช่น ต้องรีบเดินทาง หรือ ไปทำงาน ในนทางตรงข้ามการทำอาหารเพื่อถวายพระเป็นหลัก
-
ถวายภัตตาหารแบบไหนถึงบาป
การถวายภัตตาหารที่อาจมีปัญหาได้ คือการ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อถวายพระ เช่น ฆ่าปลาเพื่อถวายพระ ถ้าท่านรู้แล้วฉันปลานั้น ก็จะเป็นอาบัติ (เพราะมีพระวินัยห้ามพระฉันเนื้อสัตว์ที่เขาเพื่อเจาะจงถวายท่าน ถ้าท่านฉันทั้ง ๆ ที่รู้ คือได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน ต้องอาบัติ) แต่ถ้าญาติโยมฆ่าปลาเพื่อกินเอง แล้วแบ่งส่วนหนึ่งถวายพระ พระย่อมฉันได้ด้วยความสบายใจ เพราะไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดปาณาติบาต (ปาณาติบาต (น.) หมายถึง ทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ) และ 9 อาหารที่ถวายแล้วอาจทำพระสงฆ์อาบัติ
-
หลักการถวายภัตตาหาร
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
- นิมนต์พระสงฆ์ต่อเจ้าอาวาส บอกวัน เวลา สถานที่ จำนวนพระสงฆ์ตามต้องการ โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง
- ถ้าถวายภัตตาหารที่บ้าน ต้องตั้งโต๊ะหมู่บูชา และ พระพุทธรูปเพื่อแสดงว่า การถวายภัตตาหารครั้งนี้มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
- เตรียมภัตตาหารให้เรียบร้อย เมื่อพระสงฆ์มาพร้อม นำภัตตาหารมาวางไว้ที่หน้าพระสงฆ์
- จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล 5 และรับศีล 5 โดยกล่าวตามพระสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้า
- กล่าวคำถวายภัตตาหารร่วมกัน
- เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว ช่วยกันประเคนภัตตาหาร เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ต่อจากนั้นถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์เสร็จแล้ว พระสงฆ์ อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ เสร็จพิธี
คำถวายภัตตาหาร (กล่าว นะโม 3 จบ ) “อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฎิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”
อย่างไรก็ตามเรื่องการทำบุญ ไม่ว่า ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ควรมุ่งที่เจตนาหรือสาระเป็นสำคัญ ดังคำสอนเรื่องสัปปุริสทาน หรือทานของสัตบุรุษนั้น ท่านชี้ว่า หมายถึงการให้ของที่สะอาด ประณีต ถูกเวลา สมควรแก่ผู้รับ ให้ด้วยวิจารณญาณ ให้เนืองนิตย์ เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส ให้แล้ว เบิกบานใจ ก็ควรมั่นใจว่าได้บำเพ็ญทานที่ดีงามแล้ว
ที่มาข้อมูล :ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล,จากธัมมวิโมกข์ เล่มที่ 168 เดือนมีนาคม 2538 หน้า 69